share

นอนหลับไม่สนิท สาเหตุในการนอน ส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว 

Last updated: 3 May 2024
นอนหลับไม่สนิท นอนหลับๆตื่นๆ

นอนน้อย..แต่นอนนะ ไม่ดีต่อสุขภาพ

หลายคนไม่มากก็น้อย น่าจะต้องพบเจอกับปัญหาที่ต้องเจอทุกวันก่อนนอน คือปัญหาการนอนหลับแม้ว่าจะพยายามข่มตาให้หลับเป็นชั่วโมง ก็ยังไม่หลับ นอนหลับยาก นอนหลับไปไม่กี่ชั่วโมงก็เช้าแล้ว ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันไม่ได้ตามที่ต้องการ และมีอาหารง่วงตอนในตอนกลางวัน หรือเวลาทำงานตลอด นอนไม่มีประสิทธิภาพแบบนี้ ส่งผลให้ร่างกายของคุณต้องทำงานหนัก หากมีการนอนหลับไม่สนิท นอนหลับไม่เพียงพอนี้บ่อยๆ ทำให้เกิดผลเสียกับร่างกายหลายๆ อย่างตามมา

ปัญหาการนอนหลับไม่สนิท เกิดจากอะไร 

การนอนหลับไม่สนิท เกิดจากหลายสาเหตุที่ทำให้การนอนหลับไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของคุณเอง และสภาพแวดล้อมที่อยู่ก็มีผลการนอนด้วยเช่นกัน

เกิดเสียงดังรบกวนการนอน 

เสียงเป็นปัจจัยที่อาจจะทำให้เรานอนหลับไม่สนิท เพราะเมื่อเรานอนร่างรายจะยังคงทำงาน เช่น หัวใจ ความดันโลหิต แต่จะทำงานนิ่งไม่หนักเหมือนตอนเราตื่น รวมถึงประสาทการรับเสียงที่ยังคงรับเสียงได้ เมื่อมีเสียงดังมาก ร่างกายก็จะตื่นเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าเรานอนพักใกล้พื้นที่ ที่มีเสียงรบกวนมากเกินไปก็อาจจะเจอปัญหา การนอนหลับตื่นๆได้ เช่น ใกล้พื้นที่ก่อสร้าง หรือ ใกล้พื้นที่สนามบิน หรือเสียงกรนจากคู่นอนของคุณก็อาจจะเกิดปัญหาในการนอนได้ 

ทำงานเป็นกะ

การทำงานเป็นกะ คือการงานทำตามรอบ โดยมองทั่วไปอาจะไม่เกี่ยวกับการนอน แต่ความจริงก็มีผลให้นอนหลับๆตื่นๆ เมื่อทำงานในรอบเวลากลางคืน และนอนในเวลากลางวัน หรีอมีการสลับกะการทำงานไปบ่อยๆ อาจจะเกิดผลเสียต่อการนอน นอนไม่เป็นเวลา ยิ่งเป็นการทำงานกะดึก ส่งผลให้เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพในระยะสั้น และอาจส่งผลในระยะยาวหากมีการทำยาวนาน

การนอนในสถานที่ ที่ไม่คุ้นเคย

หลายคนอาจจะเจอปัญหานี้ เมื่อเปลี่ยนที่นอนบ่อย ก็อาจจะทำให้นอนไม่หลับ เพราะว่า ร่างกายของเราชอบความจำเจ และไม่ต้องการความตื่นเต้นก่อนนอน เมื่อมีการเปลี่ยนสถานที่ ร่างกายและสมองจะตื่นตัวมากกว่าปกติ ทำให้การนอนหลับนั้นทำได้ยากกว่าเดิมและยังมีการนอนหลับไม่สนิทร่วมด้วย สำหรับปัญหานี้ผู้ที่ต้องเดินทางพักตามโรงแรม เปลี่ยนสถานที่บ่อยๆ อาจจะเคยเจอ

ปัญหาแสงสว่างรบกวน

แสงสว่าง ก็มีผลให้นอนไม่หลับเช่นกัน อย่างที่บอกว่าร่างกายยังคงทำงานอยู่เมื่อหลับรวมถึงดวงตาด้วย และมีหลายคนเลยทีเมื่อเจอกับแสงสว่าง แล้วนอนไม่หลับ หรือ นอนหลับๆตื่นๆ รวมถึงการเปิดไฟนอนในตอนกลางคืนยังมีส่วนทำให้นอนหลับยากกว่าปกติ ส่งผลให้ง่วงนอนตอนกลางทั้งวัน ความสามารถในการทำงานลดลง

ปัญหาการใช้ยา สารบางชนิดที่มีผลกระตุ้นประสาท

การกินยา ก็มีผลต่อการนอนหลับเช่นกัน เพราะในตัวยาบางชนิดมีผลต่อสมองโดยตรง ยาลดน้ำหนัก ยาแก้หอบหืด ยาต้านซึมเศร้า สารเหล่านี้มีบทบาทที่ทำให้เกิดภาวะการนอนหลับๆตื่นๆ หรือสะดุ้งตื่นในระหว่างนอนได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ เภสัชกร ผู้จ่ายยาก่อนรับประทาน

เห็นไหมว่า การนอนหลับไม่สนิทมีหลายสาเหตุ แถมการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอในระยะยาวนั้นยังอาจจะส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวได้ ทั้งเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เจ็บป่วยได้ง่าย ร่วมถึงความจำ ความคิด และการประมวลผล ทำให้ร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลีย มากกว่าคนทั่วไป



หาตัวช่วยเสริมสร้างร่างกายให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน ไม่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ พร้อมเสริมสารอาหารให้กับร่างกาย นอนน้อย อ่อนเพลียรับประทาน PANAPRO ตัวช่วยเสริมการนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ทานพานาโปรมีผลดีต่อคลื่น AlphaWave คลื่นสมองที่ช่วยให้การนอนหลับสบายมากขึ้น สารชนิดนี้จะทำให้สมองมีความสุข มีผลต่อการนอนโดยตรง ซึ่ง PANAPRO มีสารอาหารที่ช่วยให้ปรับการนอนหลับได้เป็นอย่างดี พร้อมตื่นตอนเช้า พร้อมทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมี วิตามิน และแร่ธาตุ หนึ่งในอาหารที่โรงพยาบาลพานาซีแนะนำ แถมยังเป็นโปรตีนที่ช่วยในการชะลอวัย ทางเลือกของผู้ที่อยากจะดูแลตัวเอง และได้สารอาหารประเภทอื่นๆ ครบถ้วนทั้งหมด 91 ชนิด มีไฟเบอร์สูง มีกรดอะมิโนที่จำเป็นมากถึง 22 ชนิด เติมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย พร้อมช่วยเสริมสร้างการนอนกลับได้ดียิ่งขึ้น ทานทดแทนเมื้ออาหารก็ง่ายมีทั้งแบบกล่อง และแบบกระปุก สั่งซื้อได้ที่เว็บ PANAPRO

บทความที่เกี่ยวข้อง : 

7 วิธีนอนหลับง่าย หลับเต็มตื่น สร้างการนอนให้มีคุณภาพ

อาหาร โปรตีนสูง 10 ชนิด หาทานง่าย กินโปรตีนให้ได้ผลเร็ว

คนแก่ถ่ายไม่ออก ทํายังไงดี ปัญหาเล็กๆ ที่ไม่ควรปล่อยไว้

โภชนาการ-ผู้สูงอายุอาหารที่ควรเลี่ยงสำหรับผู้สูงวัยอะไรกินได้กินไม่ได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
โปรตีน ลดน้ำหนัก ยี่ห้อไหนดี
เลือกโปรตีน ลดน้ำหนักสำหรับผู้หญิง PANAPRO ได้มากกว่าคำว่าผอม ตัวช่วยลดน้ำหนักที่รู้ใจ เสริมสร้างร่างกายให้สุขภาพดี และมีหุ่นดี
10 Sep 2024
หาค่า BMI เท่าไหร่ ถึงเรียกอ้วน! เช็ก BMI ตัวบ่งชี้ด้านสุขภาพ
แจกวิธีคำนวณ BMI ค่าดัชนีมวลกาย เพียงรู้น้ำหนักและส่วนสูง ตัวช่วยบ่งชี้ด้านสุขภาพ และยังมีประโยชน์ในการวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว
6 Sep 2024
กินแล้วไม่อ้วนดีจริง หรือเสี่ยงโรค
กินเยอะ แต่ไม่อ้วนสักที ความสุขของคนผอม กินแล้วไม่อ้วน ดีหรือเสี่ยงโรค ดูพฤติกรรมของคุณ มีความเสี่ยงมากขนาดไหนในการเกิดโรค
26 Aug 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ