share

ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง แพงไหม อายุเท่าไหร่จึงตรวจได้

Last updated: 24 Jun 2024
ตรวจสุขภาพแต่ละช่วงวัย ควรตรวจอะไรบ้าง

   ปัจจุบันผู้คนหันมาให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพร่างกายหรือสุขภาพจิตใจ ทั้ง 2 อย่างนี้จำต้องมีควบคู่กันไป ซึ่งหากเกิดโรคภัยขึ้นแล้วไม่เพียงแต่จะทำให้เสียสุขภาพกายและใจ แต่ยังทำให้เสียเงินเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลอีกด้วย ในปัจจุบันมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น COVID-19 ไข้หวัดใหญ่ มะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อต่างๆ เป็นต้น
   หากเราทำการคัดกรองและรับรู้ถึงสุขภาพร่างกายของตัวเองแล้วก็จะทำให้เราสามารถที่จะวางแผนการดูแลสุขภาพร่างกายได้ในอนาคต ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี เนื่องจากสุขภาพร่างกายเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ควรที่จะทำความเข้าใจและรับรู้ถึงสภาวะของร่างกายก่อนที่โรคภัยไข้เจ็บจะลุกลามและยากต่อการรักษาฟื้นฟูสุขภาพในอนาคต
การตรวจสุขภาพประจำปี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสามารถทำการตรวจคัดกรองได้ทุกเพศ ทุกวัยเพื่อลดความเสี่ยงและทำการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรค และถ้าสนใจตรวจสุขภาพ  ตรวจอะไรบ้าง ที่จำเป็นและ มีความเสี่ยงในการเกิดโรค

การตรวจสุขภาพคืออะไร

   การตรวจสุขภาพ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การตรวจคัดกรองสุขภาพ คือ การตรวจเช็คร่างกายประจำปี ในขณะที่ร่างกายยังไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นโดยการตรวจหาความผิดปกติ เพื่อรักษา ฟื้นฟู ก่อนที่จะเกิดการลุกลามของโรค ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงครอบคลุมไปถึงด้านการส่งเสริมเพื่อสุขภาพที่ดี การวินิจฉัยตรวจหาถึงความผิดปกติของร่างกาย รวมถึงการรักษาระยะเริ่มต้นของโรคเพื่อป้องกันการลุกลามในอนาคต จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการตรวจสุขภาพนั้นมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก

การตรวจสุขภาพ ตรวจอะไรบ้าง ที่จำเป็น

    การตรวจสุขภาพประจำปีสามารถตรวจได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่การคัดกรองจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับช่วงวัยของผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ สามารถแบ่งกลุ่มตรวจสุขภาพออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 

กลุ่มวัยเด็ก อายุ 0 - 18 ปี

เป็นวัยที่มีการเล่นและสัมผัสร่างกายกันค่อนข้างมาก รวมถึงวัยเด็กยังเป็นวัยที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ เท่าผู้ใหญ่ ดังนั้นร่างกายของเด็กจะอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าช่วงวัยอื่นๆ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก อีสุกอีใส โรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ RSV เป็นต้น

กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน อายุ 18 - 60 ปี

เป็นวัยที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงที่สุดแต่ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยต่างๆ ได้เช่นกันหากไม่ออกกำลังกายหรือดูแลตนเองให้ดี โดยโรคที่มักจะเกิดกับคนช่วงวัยนี้คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตับ-ไต มะเร็ง กระเพาะอาหารอักเสบ และโรคหัวใจ เป็นต้น ดังนั้นจึงควรทำการตรวจคัดกรองโรคต่างๆ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้ทันเวลา

กลุ่มวัยผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป

ร่างกายของคนในวัยนี้มักจะมีการเสื่อมของอวัยวะและระบบต่างๆ ดังนั้นจึงเป็นวัยที่ควรได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อซ่อมแซมและฟื้นฟูความเสื่อมถอยของร่างกาย โดยโรคที่พบมากในวัยนี้คือ หัวใจ มะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน เป็นต้น

กลุ่มสตรีมีครรภ์

มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อคุณแม่และเด็กในท้องได้ สตรีมีครรภ์จึงควรได้รับการตรวจภาวะต่างๆ เช่น ครรภ์เป็นพิษ โลหิตจาง ความดันโลหิตสูง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น เพื่อจะได้รับรู้ถึงความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันโรคต่อไป

ตรวจสุขภาพประจำปี ควรตรวจเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรค โดยคนแต่ละกลุ่มจะมีความเสี่ยงของโรคที่แตกต่างกันไป เช่น กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน (อายุ 18 - 60 ปี) จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกมากกว่าวัยอื่นๆ ดังนั้นจึงควรตรวจความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกควบคู่ไปด้วย เป็นต้น

ตรวจสุขภาพ  ราคาเฉลี่ยเท่าไหร่?

   การตรวจสุขภาพประจำปีนั้น ราคาค่อนข้างที่จะต่างกันขึ้นอยู่กับสถานที่ รายการในการตรวจ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ 

  • โปรแกรมตรวจสำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 30 ปี ราคาเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 5,000 บาท
  • โปรแกรมตรวจสำหรับผู้ที่อายุ 30 - 45 ปี ราคาเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 7,000 บาท
  • โปรแกรมตรวจสำหรับผู้ที่อายุ 45 ปีขึ้นไป ราคาประมาณ 3,000 - 15,000 บาท

   การตรวจสุขภาพมีให้เลือกมากมายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดและไขมัน หรือตรวจสุขภาพของอวัยวะภายในที่สำคัญต่างๆ ในร่างกาย แต่ในปัจจุบันมีการตรวจสุขภาพอีกแบบหนึ่งที่สามารถตรวจสุขภาพได้ถึงระดับเซลล์ ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้า เข้าสู่ร่างกาย ที่เรียกว่า การตรวจสุขภาพเชิงลึก หรือ BIO BODY SCAN

ตรวจสุขภาพ ตรวจอะไรบ้าง ตรวจเชิงลึก รู้เท่าทันโรค 

   การตรวจสุขภาพเชิงลึก หรือ BIO BODY SCAN เป็นการตรวจร่างกายด้วยเทคโนโลยี Electro Interstitial Scan ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายเพื่อตรวจดูความต้านทานน้ำของอวัยวะระหว่างเซลล์ โดยไม่ต้องเจาะเลือด เพื่อหาความเสื่อมถอยของอวัยวะภายในทั้ง 37 อวัยวะ และ 9 ระบบสำคัญของร่างกาย ได้แก่

  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด Cardiovascular functions
  • ระบบต่อมไร้ท่อ Endocrine functions
  • ระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ Urogenital and renal functions
  • ระบบสั่งการของประสาทและกล้ามเนื้อ Neuromuscular functions
  • ระบบการหายใจ Respiratory functions
  • ระบบการย่อยอาหาร Digestive functions
  • ระบบประสาทและสมอง Neurologic functions
  • ระบบการเผาผลาญอาหาร General metabolic functions
  • ระบบภูมิคุ้มกัน ภูมิแพ้ การติดเชื้อ และระบบทางเดินหายใจ Immune functions (allergic risk, infectious risk and ENT risk)

   ในปัจจุบันเห็นได้ว่าคนไทยตรวจสุขภาพ กันน้อยลงเพียง 2 % ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าไม่จำเป็น หรือ หลายคนไม่สะดวกในการตรวจเนื่องจาก ราคาที่ค่อนข้างสูงตั้งแต่หลักพันจนไปถึงหลักหมื่น แบนด์​โปรตีนพืช PANAPRO เข้าใจว่าเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น อยากให้คนไทยหันมาดูแลสุขภาพ จึงจัดกิจกรรม แจกสิทธิ์ตรวจสุขภาพเชิงลึก เมื่อซื้อสินค้า PANAPRO ครบตามเงื่อนไข ผ่านรายการแฉ


   สามารถทำการตรวจสุขภาพเชิงลึก BIO BODY SCAN ได้ทุกเพศ ทุกวัย แนะนำโดย PANAPRO โปรตีนจากพืช 100% ที่มีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายพร้อมทั้งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ เสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ มีแคลเลอรี่ต่ำและมีโปรตีนสูง ช่วยลดปัญหาข้อเข่าเสื่อมในอนาคตได้อีกด้วย

อ่านบทความเพิ่มเติม :

ตรวจสุขภาพจำเป็นไหม เตรียมตัวยังไง รู้ทันลดความเสี่ยงโรคร้าย

หาโปรตีนดีให้กับร่างกาย ค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ในโปรตีนพืช

วิธีชงโปรตีน เทคนิคง่ายๆ สำหรับคนรักโปรตีน กินให้ได้ผลดี

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
โปรตีน ลดน้ำหนัก ยี่ห้อไหนดี
เลือกโปรตีน ลดน้ำหนักสำหรับผู้หญิง PANAPRO ได้มากกว่าคำว่าผอม ตัวช่วยลดน้ำหนักที่รู้ใจ เสริมสร้างร่างกายให้สุขภาพดี และมีหุ่นดี
10 Sep 2024
หาค่า BMI เท่าไหร่ ถึงเรียกอ้วน! เช็ก BMI ตัวบ่งชี้ด้านสุขภาพ
แจกวิธีคำนวณ BMI ค่าดัชนีมวลกาย เพียงรู้น้ำหนักและส่วนสูง ตัวช่วยบ่งชี้ด้านสุขภาพ และยังมีประโยชน์ในการวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว
6 Sep 2024
กินแล้วไม่อ้วนดีจริง หรือเสี่ยงโรค
กินเยอะ แต่ไม่อ้วนสักที ความสุขของคนผอม กินแล้วไม่อ้วน ดีหรือเสี่ยงโรค ดูพฤติกรรมของคุณ มีความเสี่ยงมากขนาดไหนในการเกิดโรค
26 Aug 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ